สื่อรูปแบบต่าง ๆ ของ ลักกีสตาร์_(มังงะ)

มังงะ

Lucky☆Star ในรูปแบบมังงะ นั้นได้เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกลงในนิตยสาร คอมทิค ของประเทศญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ปี 2004 มาจนถึงปัจจุบัน และมีฉบับรวมเล่มตีพิมพ์ออกมาแล้ว 10 เล่ม ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ คาโดคาว่า โชเท็น เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2547 เล่มสองวางจำหน่าย 10 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เล่มสามวางจำหน่าย 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เล่มสี่ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2550 และเล่มห้า วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550 ส่วนในประเทศไทยทางสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ได้ลิขสิทธิ์เรื่องนี้ โดยเล่มหนึ่งได้มีกำหนดการวางจำหน่ายแล้วในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550[5] เล่มสองได้วางจำหน่ายในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เล่มสามวางจำหน่ายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เล่มสี่วางจำหน่ายในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และเล่มห้าวางจำหน่ายในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

นอกจากนิตยสาร คอมทิค แล้ว มังงะของเรื่องนี้ยังปรากฏในนิตยสารอื่นๆ ในเครือของคาโดคาว่าอีกด้วย เช่น โชเน็น เอซ,นิวไทป์, คอมพเอซ, ดรากอน แมกกาซีน, โมบาย นิวไทป์ และ คาโดคาว่า ฮอตไลน์ ให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ

วิดีโอเกม

นินเทนโด ดีเอส

ในเวอร์ชันวิดีโอเกม จะใช้ชื่อว่า Lucky☆Star โมเอะ ดริล (ญี่ปุ่น: らき☆すた 萌えドリル โรมาจิRaki ☆ Suta Moe Doriru) ซึ่งวางจำหน่ายไปในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในเครื่อง นินเทนโด ดีเอส ซึ่งจะมีแบบจำนวนจำกัดอยู่ด้วย ซึ่งในรูปแบบจำนวนจำกัดนั้นมีส่วนพิเศษเพิ่มมามากมาย ซึ่งจะวางจำหน่ายปะปนไปกับแบบธรรมดา และแบบจำนวนจำกัดนี้จะถูกเรียกว่า "DX Pack" และต่อมาก็ได้มีการวางแผนที่จะจำหน่ายเกมใหม่ ภายใต้ชื่อว่า ชิน Lucky☆Star โมเอะ ดริล ~ทาบิดาจิ~ (ญี่ปุ่น: 真・らき☆すた 萌えドリル~旅立ち~ โรมาจิShin Raki ☆ Suta Moe Doriru ~Tabidachi~) สำหรับเครื่อง นินเทนโด ดีเอส ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

เกมแรกจะเป็นประเภทเกมฝึกสมอง โดยที่ตัวเกมจะทดสอบผู้เล่นในทักษะต่างๆ และในด้านความจำ โดยที่ตัวละครจะต้องไล่ตอบคำถามของตัวละครตัวอื่นๆ ไปเรื่อยๆ รวมไปถึงใน "Drama ☆ Mode" ซึ่งผู้เล่นจะได้เล่นในรูปแบบเกมผจญภัยขนาดย่อม โดยเป้าหมายคือการพาตัวละครไปที่ อากิฮาบาระ โดยการตอบคำถามและเล่นมินิเกม (ทั้งหมด 5 เกม) ที่จะโผล่ออกมาให้เล่นตลอดเกม

จุดสังเกต
  • ในเกมจะมีจุดที่น่าสนในการเล่นคนเดียวในโหมด "Hitasura ☆ Drill" และ "Drama ☆ Mode" คือผู้เล่นสามารถที่จะลิงก์เล่นกับผู้เล่นคนอื่นๆ ที่กำลังเล่นอยู่ได้ด้วย ซึ่งผู้เล่นสามารถที่จะนำตัวละครที่ตนสร้างไว้ใน "Drama ☆ Mode" มาเล่นกันได้ และถ้าผู้เล่นต้องการที่จะใช้ท่าไม้ตายพิเศษเพื่อต่อสู้กับผู้เล่นอีกคนในขณะที่กำลังลิงก์เล่นด้วยกันอยู่ ผู้เล่นจะต้องตะโกนชื่อของท่าไม้ตายนั้นใส่ในไมโครโฟนด้วย
  • ใน Drama ☆ Mode ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นผู้ช่วยของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งจะต้องพยายามทำให้ค่าสถานะต่างๆ ของเธอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อไว้ใช้ฝึกทักษะในการต่อสู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ
  • ในเกมจะมี "ดริลส" อยู่ 5 ชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป หนึ่งในนั้นจะมีปัญหาที่เรียกว่า "Ondoku" ซึ่งผู้เล่นจำเป็นที่จะต้องพูดคำตอบใส่ไมโครโฟนเพื่อตอบคำถามนั้น
  • มาสคอตของร้านขายสินค้าโดจิน และอนิเมะ ส่วนใหญ่จะปรากฏในเรื่องนี้ทั้ง 3 เวอร์ชัน (เช่น ดิ จิ การัตของค่ายบร็อกเคอลี่, อนิเมะ เทนโช ของร้าน อนิเมท และ มิโกะจัง ของร้าน โทระโนะอานะ ซึ่งจะปรากฏออกมาให้เห็นกันเป็นช่วงๆ)

เพลย์สเตชัน 2

คาโดคาว่า โชเท็น ได้พัฒนาเกม วิชช่วล โนเวล สำหรับเครื่องเล่น เพลย์สเตชัน 2 ชื่อว่า Lucky☆Star: เรียวโอ กาคุเอ็น โอโตไซ (ญี่ปุ่น: らき☆すた ~陵桜学園 桜藤祭~ โรมาจิLucky ☆ Star: Ryōō Gakuen Ōtōsai) ซึ่งออกวางจำหน่ายในวันที่ 24 มกราคม 2008[6]

เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล

สำหรับเครื่องเล่น เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล ในชื่อว่า Lucky☆Star: เน็ต ไอดอล เมอิสเตอร์ (ญี่ปุ่น: らき☆すた ネットアイドル・マイスター โรมาจิ'Lucky Star: Net Idol Meister) ซึ่งออกวางจำหน่ายในวันที่ 24 ธันวาคม 2009 โดย คาโดคาว่า โชเท็น[7]

อนิเมะ

ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในลักกีสตาร์

Lucky☆Star ในรูปแบบอนิเมะนั้น สร้างโดย เกียวโตแอนิเมชัน ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2550 มีความยาวทั้งหมด 24 ตอน[8] ซึ่งได้เปลี่ยนตัวผู้กำกับ ยามาโมโต้ ยูทากะ เป็น ทาเคโมโต้ ยาสุฮิโระ หลังจากตอนที่ 4 เป็นต้นไป ด้วยเหตุผลที่ว่า: "คุณยามาโมโต้ ยูทากะ ยังไม่มีความสามารถพอที่จะไปถึงจุดที่เรียกว่าผู้กำกับได้ ดังนั้นจึงต้องขอเปลี่ยนตัวผู้กำกับ"[9]

การวางจำหน่ายแผ่น ดีวีดี

แผ่นดีวีดีชุดพิเศษชุดแรกนั้นวางจำหน่ายในวันที่ 22 มิถุนายน 2550 ที่ข้างในบรรจุอนิเมะไว้ 2 ตอน ซึ่งดีวีดีแผ่นแรกนั้นหลังจากที่วางจำหน่ายก็ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างมากจนทำให้สินค้านั้นหมดลงไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น รายงานจาก แอมะซอนประเทศญี่ปุ่น [10] ยิ่งไปกว่านั้น "แหล่งจำหน่ายสินค้าใหญ่ [ในอากิฮาบาระ] ที่มีการวางจำหน่ายชุดพิเศษนั้นก็ยังหมดลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย"[10]

เพลงประกอบ

เพลงเปิดมตเทเคะ! เซเลอร์ ฟุคุ (ญี่ปุ่น: もってけ!セーラーふく โรมาจิMotteke! Sailor Fuku ทับศัพท์lit.ใส่ซะ! ชุดกะลาสี) โดย ฮิราโนะ อายะ, คาโต้ เอมิริ, ฟุคุฮาระ คาโอริ, และ เอนโด อายะ (ตอนที่ 1-23)เพลงปิด
ตารางเพลงปิดในแต่ละตอน
ตอนที่ชื่อเพลงต้นฉบับร้องโดย
01"อุจู เท็ตสึจิน เคียวดัน" (ญี่ปุ่น: 宇宙鉄人キョーダイン โรมาจิUchū Tetsujin Kyōdain宇宙鉄人キョーダイン ทับศัพท์Uchū Tetsujin Kyōdain宇宙鉄人キョーダイン, Uchū Tetsujin Kyōdain宇宙鉄人キョーダイン)เพลงเปิดของ หุ่นเหล็กอวกาศ เคียวดันโคนาตะ (ฮิราโนะ อายะ)
02"โชริ ดะ! อาคุไมเซอร์ 3" (ญี่ปุ่น: 勝利だ!アクマイザー3 โรมาจิShōri da! Akumaizer 3 ทับศัพท์lit.มันคือชัยชนะ! อาคุไมเซอร์ 3)เพลงเปิดของ อาคุไมเซอร์ 3
03"โซเระ กะ ไอ เดโช?" (ญี่ปุ่น: それが、愛でしょう โรมาจิSore ga, Ai deshō ทับศัพท์lit.คือรัก ใช่ไหม?)เพลงเปิดของ ฟูล เมทัล พานิค? ฟุมอฟฟุ!
04"เซเลอร์ ฟุคุ โตะ ไคคันจู" (ญี่ปุ่น: セーラー服と機関銃 โรมาจิSailor Fuku to Kikanjuu ทับศัพท์lit.คอซอง ยากูซ่า)เพลงเปิดของ คอซอง ยากูซ่าคางามิ (คาโต้ เอมิริ)
05"ชาลา เฮด ชาลา" (ญี่ปุ่น: チャラ・ヘッチャラ โรมาจิChara Hecchara ทับศัพท์lit.ชาลา เฮด ชาลา)เพลงเปิดแรกของ ดราก้อนบอล Zโคนาตะ (ฮิราโนะ อายะ)
06"บาเรนไท เด คิสสุ" (ญี่ปุ่น: バレンタイデイキッス โรมาจิBarentai Dei Kissu ทับศัพท์lit.จูบวาเลนไทน์)เพลงเดบิวของ ซาโยริ โคคุโชที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในปี พ.ศ. 2529สึคาสะ (ฟุคุฮาระ คาโอริ) &
โคนาตะ (ฮิราโนะ อายะ)
07"จิโจ โนะ โฮชิ" (ญี่ปุ่น: 地上の星 โรมาจิChijō no Hoshi ทับศัพท์lit.แผ่นดินดวงดาว)เพลงเปิดของ "โปรเจกต์ X: แชลเลนเจอร์ส"มิยูกิ (เอนโด อายะ)
08"มังกี้ เมจิค" (ญี่ปุ่น: モンキーマジック โรมาจิMonkī Majikku ทับศัพท์lit.มังกี้ เมจิค)เพลงเปิดของรายการทีวี มังกี้โคนาตะ (ฮิราโนะ อายะ)
09"โคงาราชิ นิ ดาคาเระเตะ" (ญี่ปุ่น: 木枯らしに抱かれて โรมาจิKogarashi Ni Dakarete ทับศัพท์lit.สายลมฤดูหนาวที่โอบกอด)ผลงานเพลงของ โคอิซุมิ เคียวโกะ
10"ไอมุ พุราอุโดะ" (ญี่ปุ่น: アイム・プラウド โรมาจิAimu Puraudo ทับศัพท์ฉันภูมิใจ)ผลงานเพลงของ โทโมมิ คาฮาระคางามิ (คาโต้ เอมิริ)
11"โดราเอมอน โนะ อุตะ" (ญี่ปุ่น: ドラえもんのうた โรมาจิDoraemon no Uta ทับศัพท์เพลงของโดราเอมอน)เพลงเปิดของ โดราเอมอนสึคาสะ (ฟุคุฮาระ คาโอริ) &
มิยูกิ (เอนโด อายะ)
12"อิเคะ โกดโดะแมน" (ญี่ปุ่น: 行け!ゴッドマン โรมาจิIke! Goddoman ทับศัพท์ไปเลย! ก็อดแมน)เพลงเปิดของ ยูเคะ! ก็อดแมนโคนาตะ (ฮิราโนะ อายะ)
"มาเคนาอิ เดะ" (ญี่ปุ่น: 負けないで โรมาจิMakenaide ทับศัพท์ อย่าแพ้นะ)ซิงเกิลที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของวง Zardตัวละครหลักทั้งหมด
13"โอเระ โน วะสุเระโมโนะ" (ญี่ปุ่น: 俺の忘れ物 โรมาจิOre no Wasuremono ทับศัพท์lit.ตัวฉันที่ถูกลืม)เพลงต้นฉบับ [11]ชิราอิชิ มิโนรุ
14"ฮาเระ ฮาเระ ยูไค" (ญี่ปุ่น: ハレ晴レユカイ โรมาจิHare Hare Yukai ทับศัพท์lit.รอยยิ้มที่สนุกสนาน)เพลงปิดของ สึซึมิยะ ฮารุฮิ
15"โค่ย โนะ มิโนรุ เด็นเซ็ทสึ" (ญี่ปุ่น: 恋のミノル伝説 โรมาจิKoi no Minoru Densetsu ทับศัพท์lit.ตำนานรักมิโนรุ)เพลงล้อเลียนเพลงประกอบในอนิเมะเรื่อง สึซึมิยะ ฮารุฮิ:
"โค่ย โนะ มิคุรุ เด็นเซ็ทสึ" (ญี่ปุ่น: 恋のミクル伝説 โรมาจิKoi no Mikuru Densetsu ทับศัพท์lit.ตำนานรักมิคุรุ)
16"มิโซจิ มิซากิ" (ญี่ปุ่น: 三十路岬 โรมาจิMisoji Misaki ทับศัพท์lit.เส้นแห่งวัย 30)เพลงต้นฉบับโคงามิ อากิระ (คนโนะ ฮิโรมิ)
17"มตเทเคะ! เซเลอร์ ฟุคุ (ไอ ไม ซันชาอิน เวอร์.)" (ญี่ปุ่น: もってけ!セーラーふく (曖昧サンシャインver.) โรมาจิMotteke! Sērāfuku (Ai mai sanshain ver.) ทับศัพท์lit.ใส่ซะ! ชุดกะลาสี (เวอร์ชันแสงสลัว))เพลงล้อเลียนเพลงเปิดของเรื่อง Lucky☆Starชิราอิชิ มิโนรุ
18"คาโอริน โนะ ทีมะ" (ญี่ปุ่น: かおりんのテーマ โรมาจิKaorin no Tēma ทับศัพท์lit.ธีมของคาโอริน)เพลงต้นฉบับ
19"โอโตโกะ โนะ อิคิซามะ" (ญี่ปุ่น: 男の生き様 โรมาจิOtoko no Ikizama ทับศัพท์lit.หนทางลูกผู้ชาย)
20"โอมุโคะ รันบะ" (ญี่ปุ่น: お婿ルンバ โรมาจิOyome Sanba)เพลงล้อของเพลง (ญี่ปุ่น: お嫁サンバ โรมาจิOyome Sanba ทับศัพท์lit.แซมบ้าลูกสะใภ้) ของ โก ฮิโรมิ
21"โอมุโคะ รันบะ" (ญี่ปุ่น: お婿ルンバ โรมาจิOmuko Runba ทับศัพท์lit.รุมบ้าลูกเขย)เพลงต้นฉบับ
22"วากะ อิโตชิ โนะ ซานตะ โมนิกะ" (ญี่ปุ่น: 我が愛しのサンタモニカ โรมาจิWaga Itoshi no Santa Monika ทับศัพท์lit.ซานต้า โมนิก้า ที่รัก)
ร้องวนเพลงปิดของตอน 13, 14, 15, 17, 19, และ 21
23"มิคุรุ เฮนชิน! โซชิเตะ เซนโต!" (ญี่ปุ่น: ミクル変身!そして戦闘! โรมาจิMikuru Henshin! Soshite Sentō! ทับศัพท์lit.มิคุรุ เปลี่ยนร่าง! เข้าต่อสู้ค่า!)BGM จากเรื่อง สึซึมิยะ ฮารุฮิ
24"ไอ วะ บูเมะระอิน" (ญี่ปุ่น: 愛はブーメラン โรมาจิAi wa Būmeran ทับศัพท์lit.รักคือบูเมอแรง)เพลงปิดของ ลามู ทรามวัยจากต่างดาว 2: บิวติฟูล ซัมเมอร์

Lucky☆Star เป็นอนิเมะที่ผิดแผกไปจากเรื่องอื่นๆในเรื่องของเพลงปิด ที่ส่วนจะมีเพลงปิดเพียงไม่กี่เพลง แต่เรื่องนี้จะใช้เพลงปิดไม่ซ้ำกันในแต่ละตอน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพลงที่นำมาจากอนิเมะเรื่องอื่นๆ และภาพยนตร์คนแสดง ซะมาก และหลังจากตอนที่ 13 เป็นต้นไป จะใช้นักพากย์หลักคือคุณ ชิราอิชิ มิโนรุ มา แสดงสด เพื่อใช้เป็นเพลงปิดในแต่ละตอนด้วย

เพลงประกอบ
  1. "ฮาเระ ฮาเระ ยูไค" โดย ฮิราโนะ อายะ, จิฮาระ มิโนริ และ โกโต้ ยูโกะ (ตอนที่ 2, 4, และ 16)
  2. "โบเค็น เดโชะ เดโชะ?" โดย ฮิราโนะ อายะ, ร้องโดย โคนาตะ (ตอนที่ 5)
  3. "Gravity" โดย ซาโตรุ โคซากิ & m.o.v.e (ตอนที่ 6 และ 8)
  4. "คุจิบิรุ เดย์ดรีม" โดย มิซาโตะ อากิ (ตอนที่ 7)
  5. "God knows..." โดย ฮิราโนะ อายะ (ตอนที่ 15)
  6. "ซากุระ ซากุ มิราอิ โค่ย ยูเมะ" (ญี่ปุ่น: サクラサクミライコイユメ โรมาจิSakura Saku Mirai Koi Yume ทับศัพท์lit.ดอกซากุระที่เบ่งบานสู่อนาคตแห่งความรักและความฝัน) โดย yozuca* (ตอนที่ 15)
  7. "โค่ย โนะ มิคุรุ เด็นเซ็ทสึ" (ญี่ปุ่น: 恋のミクル伝説 โรมาจิKōi no Miruku Densetsu ทับศัพท์lit.ตำนานรักมิคุรุ) โดย โกโต้ ยูโกะ (ตอนที่ 16)
  8. "ฟุทาริ โนะ โมจิพิททัน" (ญี่ปุ่น: ふたりのもじぴったん) โดย ฟุรุฮาระ นานะ (ตอนที่ 22)
  9. "United Force" โดย คุริบายาชิ มินามิ (ตอนที่ 23)
  10. "มตเทเคะ! เซเลอร์ ฟุคุ" (ญี่ปุ่น: もってけ!セーラーふく โรมาจิMotteke! Sērāfuku ทับศัพท์lit.ใส่ซะ! ชุดกะลาสี) โดย ฮิราโนะ อายะ, คาโต้ เอมิริ, ฟุคุฮาระ คาโอริ, และ เอนโด อายะ (ตอนที่ 24)
  11. "โค่ย โนะ มิโนรุ เด็นเซ็ทสึ" (ญี่ปุ่น: 恋のミノル伝説 โรมาจิKoi no Minoru Densetsu ทับศัพท์lit.ตำนานรักมิโนรุ) โดย ชิราอิชิ มิโนรุ (ตอนที่ 24)

ซีดีเพลง

Lucky☆Star ในแบบของ ดราม่า ซีดี นั้นมีชื่อว่า ดราม่า ซีดี Lucky☆Star ซึ่งวางจำหน่ายในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดย ฟรอนเทียร์ เวิร์คส ส่วน วิดีโอเกม ซาวนด์แทร็ค ภายใต้ชื่อว่า Lucky☆Star โวคอล มินิ อัลบั้ม ได้วางจำหน่ายในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สำหรับ มตเทเคะ! เซเลอร์ ฟุคุ (ญี่ปุ่น: もってけ!セーラーふく โรมาจิMotteke! Sērāfuku) ที่เป็นซิงเกิลเปิดนั้น วางจำหน่ายในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ซีดีเพลงปิด "Lucky☆Star เอนดิ้ง ธีม ดราม่า" ที่จะรวมทุกเพลงปิดในรูปแบบเต็มเพลง และคาราโอเกะเหมือนกับในอนิเมะ วางจำหน่ายในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดย แลนติส ซีดีซิงเกิลแบบ maxi ไอไม เน็ต ดาร์ลิง (ญี่ปุ่น: 曖昧ネットだーりん โรมาจิAimai Netto Daarin) ที่ร้องโดยคุณ คนโนะ ฮิโรมิ เป็น โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ เป็นตัวเขาเองในฉบับอนิเมะ ได้วางจำหน่ายในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซีดีเพลง มตเทเคะ! เซเลอร์ ฟุคุ ฉบับรีมิกซ์นั้นได้วางจำหน่ายในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดย แลนติส ซีดีซิงเกิล โคซุตเตะ! โอ้ มาย ฮันนี่ ที่ร้องโดย อายะ ฮิราโนะ เป็น โคนาตะ และ ซาซากิ โนโซมิ เป็น แพทริเซีย และซิงเกิล มิโซจิ มิซากิ ที่ร้องโดย คนโนะ ฮิโรมิ เป็น โคงามิ อากิระ นั้นได้วางจำหน่ายพร้อมกันในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และอัลบั้ม ชิราอิชิ มิโนรุ โนะ โอโตโกะ โนะ ลัลละไบ ที่เป็นอัลบั้มรวมเพลงปิดที่ร้องโดย ชิราอิชิ มิโนรุ ในอนิเมะตั้งแต่ตอนที่ 13 เป็นต้นไป ได้วางจำหน่ายในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ซีดีคาแร็คเตอร์ 4 แผ่นแรกได้วางจำหน่ายในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550 ซึ่งร้องโดยนักพากย์ทั้ง 4 คนในแต่ละแผ่น ฮิราโนะ อายะ เป็น โคนาตะ, คาโต้ เอมิริ เป็น คางามิ, ฟุคุฮาระ คาโอริ เป็น สึคาสะ และ เอนโด อายะ เป็น มิยูกิ ต่อมาได้มีซีดีคาแร็คเตอร์ออกตามมาอีก 4 แผ่นในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550 ซึ่งร้องโดยนักพากย์อีก 4 คนในแต่ละตัวละคร ฮาเซงาวะ ชิซุกะ เป็น ยูทากะ, ชิฮาระ มิโนริ เป็น มินามิ, ชิมิซึ คาโอริ เป็น ฮิโยริ และ ซาซากิ โนโซมิ เป็น แพทริเซีย สำหรับซีดีคาแร็คเตอร์อีกสองแผ่นนั้นได้วางจำหน่ายในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 แผ่นหนึ่งจะเป็น ดูเอท ของนักพากย์สองคนคือ มิซุฮาระ คาโอรุ เป็น คุซาคาเบะ มิซาโอะ และ ไอซาวะ ไม เป็น มิเนะงิชิ อายาโนะ และอีกแผ่นหนึ่งจะเป็น ทริโอ ของ อายะ ฮิราโนะ, ฮาเซงาวะ ชิซุกะ และ ชิฮาระ มิโนริ เป็น โคนาตะ, ยูทากะ และ มินามิ นอกจากนั้นยังมีซีดีคาแร็คเตอร์ดูเอทอีก 2 แผ่นตามมาในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ซึ่งแผ่นแรกเป็นของ ฮิโรคาซุ ฮิระมัตสึ เป็น อิซึมิ โซจิโร่ และ สุมิ ชิมาโมโตะ เป็น อิซึมิ คานาตะ และอีกแผ่นจะเป็นของ นิชิฮาระ ซาโอริ เป็น นารุมิ ยุย และ มาเอดะ โคโนมิ เป็น คุโรอิ นานาโกะ

อัลบั้ม ลักกีสตาร์ BGM & เรดิโอ บันกุมิ "ลักกี☆ แชนแนล" โนะ ไดเจส โอะ ชูโรคุ ชิตะ สเปเชียล ซีดี 1 (ญี่ปุ่น: らき☆すた BGM & ラジオ番組 "らっきー☆ちゃんねる" のダイジェストを収録したスペシャルCD โรมาจิRaki Suta BGM & rajio bangumi "Raki ☆ Chaneru" no daijesuto o shuurokushita supesharu CD) ได้วางจำหน่ายครั้งแรกพร้อมกับดีวีดีแผ่นแรกในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบในอนิเมะ พร้อมกับดราม่าออดิโอของ คนโนะ ฮิโรมิ ในบทของ โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ ในบทของเขาเอง และอัลบั้มในแบบเดียวกันนี้ฉบับต่อไปก็ได้ออกมาพร้อมกับดีวีดีชุดที่ 2 ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ชุดที่ 3 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 3 ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ชุดที่ 4 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 4 ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550 ชุดที่ 5 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 5 ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ชุดที่ 6 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 6 ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ชุดที่ 7 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 7 ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ชุดที่ 8 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 8 ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 ชุดที่ 9 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 9 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ชุดที่ 10 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 10 ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ชุดที่ 11 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 11 ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 และชุดที่ 12 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 12 ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ไลท์ โนเวล

Lucky☆Star ในฉบับไลท์ โนเวล นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 เล่ม ไลท์ โนเวลเล่มแรกมีชื่อว่า Lucky☆Star Lucky☆Star ซัทสึจิน จิเค็น (ญี่ปุ่น: らき☆すた らき☆すた殺人事件 โรมาจิRaki ☆ Suta Raki ☆ Suta Satsujin Jiken) ซึ่งเนื้อเรื่องจะเป็นผลงานการแต่งของ โทกะ ทาเคอิ และภาพประกอบโดย โยชิมิสึ คางามิ ผู้วาดในต้นฉบับนั่นเอง และได้วางจำหน่ายในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยสำนักพิมพ์ คาโดคาว่า สนีกเกอร์ บุงโกะ ในเครือ คาโดคาว่า โชเท็น[12]ส่วนเล่มที่สอง เนื้อเรื่องนั้นแต่งโดย โทกะ ทาเคอิ และภาพประกอบโดย โยชิมิสึ คางามิ มีชื่อว่า ลักกีสตาร์ : ลักกีสตาร์ ออนไลน์ (ญี่ปุ่น: らき☆すた らき☆すたオンライン โรมาจิLucky Star: Lucky Star Online) วางจำหน่ายในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551 เล่มที่สาม มีชื่อว่า Lucky☆Star ซูปเปอร์ โดว่า ไทเซ็น (ญี่ปุ่น: らき☆すた スーパー童話大戦 โรมาจิLucky Star Super Dōwa Taisen) วางจำหน่ายในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โอวีเอ

สำนักพิมพ์คาโดคาว่าโชเท็นได้ประกาศเกี่ยวกับโอวีเอ ลักกีสตาร์ ลงในนิตยสาร คอมทิค[13] ซึ่ง คอมทิค ประจำเดือนมิถุนายนนั้นได้บอกว่า โอวีเอ จะวางจำหน่ายในฤดูร้อน 2008[14] แต่ข่าวล่าสุดประกาศออกมาว่าจะมีการวางจำหน่ายในวันที่ 26 กันยายน 2008.[3] ส่วนเพลงประกอบของโอวีเอคือเพลง "ไอ โอะ โทริโมะโดเซะ!!" (愛をとりもどせ!!, "Ai o Torimodose!!" lit. "ทวงรักกลับคืนมา!!') ร้องโดย "อุโจวเทน" (ญี่ปุ่น: 有頂天 โรมาจิUchōten) (คนโนะ ฮิโรมิ และ ชิราอิชิ มิโนรุ) ทั้งนี้ เพลง "ไอ โอะ โทริโมะโดเซะ!!" เดิมเป็นเพลงเปิดสำหรับแอนิเมชันชุด "โฮะคุโตะ โนะ เค็น" ("หมัดเพชฌฆาตดาวเหนือ") บทเพลงต้นฉบับขับร้องโดย คริสตัลคิง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลักกีสตาร์_(มังงะ) http://www.animenewsnetwork.com http://www.animenewsnetwork.com/encyclopedia/anime... http://www.animenewsnetwork.com/encyclopedia/manga... http://www.animenewsnetwork.com/news/2007-06-27/lu... http://www.animenewsnetwork.com/news/2008-05-05/ov... http://www.animenewsnetwork.com/news/2008-05-08/or... http://lucky-star.bandai-ent.com/ http://news.dengeki.com/elem/000/000/176/176899/ http://www.famitsu.com/game/coming/2007/07/03/104,... http://www.lucky-ch.com/